การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยรูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model)

Main Article Content

jiruntanin thongthirat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยรูปแบบการประเมินซิป กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 รวมทั้งสิ้น จำนวน 70 คน ได้แก่ สาขาการศึกษาปฐมวัย ห้องที่ 1 จำนวน 24 คน สาขาการศึกษาปฐมวัย ห้องที่ 2 จำนวน 24 คนและสาขาวิชาดนตรีศึกษา จำนวน 22 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยรูปแบบการประเมินซิป ตามความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 พบว่า ด้านบริบทของโครงการ โครงการมีหลักการและเหตุผล สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด มีกิจกรรมช่วยให้นักศึกษาพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมมีความเหมาะสม และมีความจำเป็นในการแก้ปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โครงการมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินโครงการ และมีอาคารสถานที่ในการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการอย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านกระบวนการ พบว่า โครงการมีการนิเทศ กำกับ ติดตามและควบคุมการดำเนินงาน มีการประเมินผล การปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลายครบทุกกิจกรรมมีการให้ความรู้ประชุมชี้แจง สื่อสารประชาสัมพันธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด  ด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พบว่า นักศึกษามีคุณธรรมจริยธรรมความรัก ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ มีความพอเพียงสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ เมตตา กรุณา มีวินัยในตนเองตรงต่อเวลา มีความเสียสละ มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2543). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมการวิจัยและการพัฒนาบุคคล. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิภา กู้พงษ์ศักดิ์. (2565). การเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ผ่านโครงการจิตอาสา. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1), 41-47.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:

สุวีริยาสาส์น.

เพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2551). การยกระดับคุณธรรม จริยธรรมของสังคมไทยเพื่อการปฏิรูปสังคม : แนวทางและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

รมิตา สีมาพล. (2564). รายงานการประเมินโครงการ โรงเรียนคุณธรรม โดยใช้รูปแบบ CIPPIEST Model และ บทคัดย่อรูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ 4T Model. สืบค้นเมี่อ 5 เมษายน 2566

จาก https://www.korat2.go.th/?p=2051

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้อง. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(2), 7-24.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การประชุมทางวิชาการ การวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 12. นนทบุรี: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2565). ข้อกำหนดด้านพฤติกรรม คุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา. ใน คู่มือนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2565. อุดรธานี: มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานี.

สุทัศน์พงษ์ กุลบุตร. (2550). การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่นักศึกษา. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อัจฉรา ไชยูปถัมภ์. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างความเป็นบัณฑิต ที่พึงประสงค์ของสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคกลาง. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(3), 268-286.

Kohlberg, L. (2000). The psychology of moral development, Volume II. San Francisco: Harper & Row.

Krejcie, Robert V., & Morgan, Daryle W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Management, 30(3), 608.

Piaget, J. (1969). The psychology of the child. New York: Basic Book.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models and applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.