การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานผ่านระบบเครือข่ายสังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านชีวิตและอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานผ่านระบบเครือข่ายสังคม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านชีวิตและอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/12 จำนวน 42 คน โรงเรียนสตรีราชินูทิศ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (sample random sampling) โดยใช้วิธีการจับสลากห้องเรียน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานผ่านระบบเครือข่ายสังคม, แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินทักษะและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติ t–test (One-Group) และ t–test (Dependent Samples) แบบประเมินทักษะและแบบประเมินความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ผ่านระบบเครือข่ายสังคม มีประสิทธิภาพ 84.37/93.04 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
- ดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.8786 หรือคิดเป็นร้อยละ 87.86
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- นักเรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านชีวิตและอาชีพ อยู่ในระดับ มากที่สุด
- นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับ มากที่สุด
Article Details
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ซึ่งความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน
References
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาส วิกรมสกุลวงศ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน วิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาและฝึกอบรม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เสกสันต์ พันธุ์บุญมี. (2563). COVID-19 พลิกวิกฤติเป็นโอกาสในการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.depa.or.th/th/article-view/article6-2563.
Bloom, B. S. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw-Hill.
Jansen, A. N. B. (2013). Life Skills that Enable Resilience: A Profile of Adolescents from a Coloured Community in Kimberley. Doctoral dissertation, University of the Free State.
Papert, S. (1980). Mindstroms: Children, Computer and Powerful Ideas. New York: Basic Books.