การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เน้นกิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาความสามารถการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เน้นกิจกรรมบทบาทสมมติ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เน้นกิจกรรมบทบาทสมมติ ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษฟัง-พูด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 19 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เน้นกิจกรรมบทบาทสมมติ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัย พบว่า ก่อนเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 45.79 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 60) แต่หลังเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน โดยมีคะแนนการเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์อยู่ในระดับปานกลาง และความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ซึ่งความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน
References
ทิศนา แขมมณี. (2566). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุศรา โขมพัตร. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ทีมเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษอังกฤษ และเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิชญ์สินี ชมภูคำ. (2565). เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชาสถิติเพื่อการวิจัย TLR302. เชียงใหม่: สาขาวิชาวิจัยและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). รายงานผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2565, จาก http://www.niets.or.th/.
สมฤดี คำภาษี. (2564). ผลของการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติที่มีต่อการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2562). หลักสูตรสมรรถนะแกนกลางประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2565, จาก https://bsq.vec.go.th/.
อรรชนิดา หวานคง (2559). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 7(2), 303-314.
Akmal. (2018). The effect of Role-Play method in English speaking Skill. Journal of Science and Social Research, 1(1), 48-52.
Chaney, A.L., & Burk, T.L. (1998). Teaching Oral Communication in Grades K-8. Boston: Allyn and Bacon.
Puspitorini, F. (2018). The influence of role play on student’s English speaking skill at ninth grade of SMP negeri 9 bekasi. Journal of English Language and Education, 4(1), 21-27.
Harmer. (1992). The practice of English language teaching. New York: Longman.
Mitchell, R. (1994). The communicative approach to language teaching. New York: Routledge.
Stern, H. H. (1983). Fundamental Concepts of Language Teaching. New York: Oxford University Press.