รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐานเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐาน กลุ่มที่ร่วมพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ครูคณิตศาสตร์ที่มีวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษขึ้นไป จำนวน 5 คน นักเรียนที่มีพื้นฐานการเรียนคณิตศาสตร์แตกต่างกัน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐาน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างแรงจูงใจ กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ได้ศึกษาหาความรู้ สร้างความรู้ด้วยตนแอง โดยการลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยสถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ปัญหาชวนคิด ปัญหาที่ท้าทาย มาให้นักเรียนได้พิจารณาไตร่ตรองหาแนวทางที่หลากหลายในการหาคำตอบผ่านกระบวนการกลุ่มและนำความรู้ต่อยอดสู่การผลิตนวัตกรรม ประยุกต์ความรู้ไปใช้ได้จริง สามารถนำเสนอความรู้เผยแพร่สู่ชุมชนได้ ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นกระตุ้นความสนใจ ขั้นใฝ่การเรียนรู้ ขั้นฝึกฝนสู่การสรุป ขั้นประยุกต์สร้างสรรค์ และขั้นประเมินงานประสานสังคม ซึ่งมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.17/82.68 ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้
2.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังสูงกว่าก่อนการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์หลังสูงกว่าก่อนการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจในรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ซึ่งความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน
References
กนกวรรณ ฦาชา. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กรรณิการ์ หาญพิทักษ์. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อมโนทัศน์ และความสาารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง รูปสามเหลี่ยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.
กัญจนา จันทะไพร. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง สถิติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประภากร พรหมโสภา. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เน้นการทำโครงงาน สอดแทรกหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ปิยะพร นิตยารส.(2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รสริน อะปะหัง. (2557). พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยบูรณาการทฤษฎีการสร้างความรู้และทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การจัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
รัชนีวรรณ ขันชัยภูมิ. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อทักษะการเชื่อมโยงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: คถาดา พับลิเคชั่น.
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). ครบเครื่องเรื่องควรรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์: หลักสูตร การสอนและการวิจัย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2555) . พัฒนาทักษะการคิดตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุวิทย์ มูลคา และ อรทัย มูลคา. (2552). 21 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจากัดภาพพิมพ์.