การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคด้วย 3C model โรงพยาบาลน้ำยืน อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ผกายดาว พรหมสุรีย์ โรงพยาบาลน้ำยืน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

วัณโรค, การเสริมพลัง, อัตราการรักษาสำเร็จ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคเพื่อเพิ่มอัตราการรักษาสำเร็จให้มากกว่าร้อยละ 85 รพ.น้ำยืนดูแลประชากร 70,000 คน และดูแลผู้ป่วยวัณโรคมาอย่างต่อเนื่องซึ่งพบปัญหา ได้แก่ อัตราการรักษาสำเร็จต่ำกว่าเกณฑ์ อัตราตายสูง ผู้ป่วยขาดนัด ขาดยา ปัญหาการติดต่อประสานงานระหว่างรพ.กับรพ.สต. และชุมชนไม่เห็นความสำคัญของโรค ปัญหาต่างๆส่งผลให้อัตราการรักษาสำเร็จไม่ได้ตามเกณฑ์ ปี 2551 เท่ากับร้อยละ 75.0 ปี 2552 ร้อยละ 50.0 และปี 2553 ร้อยละ 71.2 จากการระดมสมองหารากเหง้าของปัญหาพบประเด็น การขาดยา จึงได้ทำการออกแบบและพัฒนาระบบงานให้สำเร็จและยั่งยืน โดยการออกแบบและเชื่อมโยงวงล้อทั้ง 3 ได้แก่ ผู้ป่วยและญาติ (Client) บุคลากรทางการแพทย์ (Care team) และชุมชน (Community) ได้วงล้อในการพัฒนาชื่อว่า 3C model และเชื่อมโยงโดยใช้ทฤษฎีเสริมพลัง โดยศึกษากับผู้ป่วยวัณโรคทุกรายในปี 2554-2561 ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยรับการรักษารวม 495 ราย หลังการใช้วงล้อคุณภาพ 3C model พบว่า อัตราการรักษาสำเร็จของผู้ป่วยวัณโรค เพิ่มขึ้นดังนี้ปี 2554 เท่ากับร้อยละ 96.7 ปี 2555-2561 เท่ากับร้อยละ 100.0 นอกจากนั้นตัวชี้วัดคุณภาพอื่นมีแนวโน้มที่ดี เช่น อัตราเสียชีวิตลดลง อัตราการขาดนัด = 0 อัตราขาดยา = 0 สรุปการขับเคลื่อนกิจกรรมตาม 3C model สามารถเพิ่มอัตราการรักษาหายของผู้ป่วยวัณโรคและสามารถขยายผลใช้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มอื่นได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-30