ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคต่อการชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลศรีบุญเรือง

ผู้แต่ง

  • วชิราภรณ์ แสงเลิศ โรงพยาบาลศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค, ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการดำเนินการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง( Quasi-experimental Research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อน –หลัง (one group pretest –Posttest design) ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 ที่มีอัตราการกรองของไตอยู่ระดับ 30-59 mg/dl ( CKD stage 3a,3b) เพื่อศึกษาผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคต่อการชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลศรีบุญเรือง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลศรีบุญเรือง จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ dependent t – test

        ผลการศึกษา พบว่า ระดับความมั่นใจในการปรับนิสัยของตนเอง พฤติกรรมการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม และค่าอัตราการกรองไต (eGFR) ก่อนและหลังทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p – value น้อยกว่า .05 ทุกค่า) โดยที่ หลังการทดลองระดับความมั่นใจในการปรับนิสัยของตนเอง พฤติกรรมการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม และค่าอัตราการกรองไต (eGFR) ดีกว่าก่อนการทดลอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-24