การพัฒนาแนวทางการสื่อสารเรื่องเพศของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นกับครอบครัว

ผู้แต่ง

  • อมรา อัคเส โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

การสื่อสารเรื่องเพศ, หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการสื่อสารเรื่องเพศของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นกับครอบครัว โดยศึกษาสถานการณ์การสื่อสารทางเพศของครอบครัวกับหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น พัฒนาทักษะการสื่อสารเรื่องเพศแก่ครอบครัวและหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและประเมินความรู้และทัศนคติเรื่องการสื่อสารเรื่องเพศ ผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบดวยหญิงที่มีอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 31 มกราคม 2563 จำนวน 30 คน และผู้ปกครอง จำนวน 30 คน เป็นเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามปรับปรุงข้อคำถามมาจากสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ เกี่ยวกับความรู้ และทัศนคติเรื่องเพศ และแบบสอบถามกึ่งโครงสร้างซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ( IOC) ระหว่าง 0.67 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83  และ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติพรรณนาอธิบายค่าเฉลี่ย SD. Median IQR Min และ Max Statistics ทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบค่ามัธยฐานของผลต่างของคะแนน ความรู้และทัศนคติก่อนและหลังการอบรม โดยใช้สถิติ Wilcoxon matched pairs signed ranks test ส่วน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่อายุเฉลี่ย 18 ปี ซึ่งมีออายุระหว่าง 12-19 ปี ส่วนใหญ่อยู่กินด้วยกันกับสามี โดยไม่จดทะเบียนสมรส การสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัวแทบไม่มีการสื่อสาร พ่อแม่มีความคิดเชิงลบในเรื่องเพศ ถ้าตั้งครรภ์แล้วไม่กล้าบอกเพราะกลัวผู้ปกครองจะลงโทษ ผู้ปกครองให้ความคิดเห็นต่อวัยเรื่องเพศว่าเป็นเรื่องน่าอายไม่ควรพูด ขาดความรู้และไม่มีเวลา  แนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสาร จะประกอบด้วยการให้ความรู้ ปรับทัศนคติและการรับรู้ ปรับฐานคิดแม่วัยรุ่นและครอบครัวเกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว ค่ามัธยฐานของผลต่างของคะแนนความรู้ของผู้ปกครองก่อนและหลังการอบรม พบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ 5 (p-value < 0.001) ผลต่างของคะแนนทัศนคติของผู้ปกครองก่อนและหลังการอบรมพบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ 5 (p-value < 0.001)  ผลต่างของคะแนนความรู้ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นก่อนและหลังการอบรม พบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ 5 (p-value < 0.001) ค่าเฉลี่ยของผลต่างของคะแนนทัศนคติของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นก่อนและหลังการอบรม พบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ 5 (p-value < 0.001)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30