อุบัติการณ์และสาเหตุของการบาดเจ็บกระดูกใบหน้าและขากรรไกร กรณีศึกษาในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชัยภูมิ 3 ปี ย้อนหลัง

ผู้แต่ง

  • สุมิตรา จันทร์เพ็ง โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การบาดเจ็บกระดูกใบหน้าและขากรรไกร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกใบหน้าและขากรรไกรที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลชัยภูมิ ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 – 31 ธันวาคม 2562 จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลโดยเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการบาดเจ็บ ข้อมูลการรักษาพยาบาล และพฤติกรรมเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความสัมพันธ์ด้วย  logistic regression

          ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (83%) ช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุดคือ 16-30 ปี (38%, 34.68±23.85) รองลงมาคือ ช่วงอายุ 31-45 ปี (24.33%) และช่วงอายุ 46-60 ปี (24.33%)  ตามลำดับ สาเหตุหลักเกิดจากอุบัติเหตุจากจักรยานยนต์ (71%) การบาดเจ็บร่วมที่พบบ่อยที่สุดคือ การบาดเจ็บที่ศีรษะ (35.67%) พฤติกรรมเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บคือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ (27%) ไม่สวมหมวกนิรภัย (87.62%) ตำแหน่งที่มีการหักมากที่สุดคือกระดูกโหนกแก้ม (39%) รองลงมาคือกระดูกขากรรไกรล่าง (22.33%) และกระดูกหน้าผาก (10%) ตามลำดับ   การรักษาส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัด (68.67%) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บของผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เพศชายที่มีอายุ 16-30  ปี และมีการบาดเจ็บร่วม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บผู้ป่วยที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ได้แก่อุบัติเหตุจราจร การแตกหักของกระดูก   2   ตำแหน่งขึ้นไป ระยะเวลานอนโรงพยาบาล >5 วัน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-30