การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • บัวขาว กฤษณา โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน, การพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน และเพื่อนำผลการศึกษาไปพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน คัดเลือกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน เข้ามารับการรักษาในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2562  – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563  จำนวน 2 ราย

             ผลการศึกษา: กรณีศึกษาราย ที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย  อายุ 58 ปี อาการสำคัญ อาการชักเกร็ง อ่อนแรงด้านซ้าย เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 1 ชั่วโมง แพทย์วินิจฉัยโรคมีภาวะสมองขาดเลือด ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดชนิด rt-PA หลังได้รับยา rt-PA พบภาวะแทรกซ้อนมีภาวะเลือดออกในสมอง และผู้ป่วยมีปัญหาการกลืนและอาการอ่อนแรง ได้รับการรักษาจากแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ผู้ป่วยอาการดีขึ้น แพทย์จำหน่ายผู้ป่วย ระยะเวลานอนโรงพยาบาล 7 วัน การวินิจฉัยโรคก่อนจำหน่าย Acute Cerebral infraction with Hemorrhagic transformation  กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 72 ปี อาการสำคัญที่เข้ารับการรักษา อ่อนแรงแขนด้านซ้าย ปากเบี้ยวด้านซ้าย เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 4 ชั่วโมง แพทย์วินิจฉัยโรคมีภาวะสมองขาดเลือด แผนการรักษา คือ การให้ยาการให้ยาต้านเกล็ดเลือด ได้รับการรักษาด้วยการสังเกตอาการทางสมอง พบผู้ป่วยมีปัญหาอ่อนแรงแขนและขาซ้าย และปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและศูนย์ดูแลต่อเนื่อง อาการผู้ป่วยทุเลา แพทย์จำหน่ายผู้ป่วย ระยะเวลานอนโรงพยาบาล 3 วัน การวินิจฉัยโรคก่อนจำหน่าย Acute Cerebral infraction at subcortical region at left frontal lobe and left basal ganglia

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-30