ประสิทธิผลการจัดการรายกรณีทางโทรศัพท์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในสถานการณ์แพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

ผู้แต่ง

  • ณกานต์ชญาน์ นววัชรินทร์ โรงพยาบาลปากน้ำชุมพร

คำสำคัญ:

การจัดการรายกรณี, โรคเบาหวาน, โรคโควิด-19, โคโรน่าไวรัส 2019

บทคัดย่อ

     การศึกษานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการจัดการรายกรณีทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในสถานการณ์
แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ 2019 วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi- experimental research design) ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการจัดการรายกรณีทางโทรศัพท์ จำนวน 138 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม C กลุ่มควบคุมโรคได้ดี จำนวน 37 คน กลุ่ม D กลุ่มควบคุมโรคได้ปานกลาง จำนวน 52 คนและ กลุ่ม E กลุ่มควบคุมโรคได้ไม่ดี จำนวน 49 คน เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับน้ำตาลหลังอดอาหารและระดับน้าตาลสะสม ด้วยสถิติ dependent t-test และประเมินความพึงพอใจ

ผลการศึกษา หลังการจัดการรายกรณีทางโทรศัพท์ ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 138 คน พบว่ามีระดับน้ำตาลหลังอดอาหารและระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมไม่แตกต่างจากก่อนการจัดการรายกรณี เมื่อมีการเปรียบเทียบระดับน้ำตาลหลังอดอาหารและน้ำตาลเฉลี่ยสะสมเป็นกลุ่มพบว่า กลุ่ม C กลุ่มควบคุมโรคได้ดี มีระดับน้ำตาลหลังอดอาหารและระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมเพิ่มขึ้นจากก่อนการได้รับการจัดการรายกรณีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) กลุ่ม D กลุ่มควบคุมโรคได้ปานกลาง มีระดับน้ำตาลหลังอดอาหารลดลง แต่มีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดการรายกรณีทางโทรศัพท์ไม่แตกต่างจากก่อนการจัดการรายกรณี (p=.070 และ .430) และกลุ่ม E กลุ่มควบคุมโรคได้ไม่ดี มีระดับน้ำตาลหลังอดอาหารลดลง (p=.611) ส่วนระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมหลังการจัดการรายกรณีลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p<.05) นอกจากนั้นพบว่ามีระดับความพึงพอใจต่อการจัดการรายกรณีทางโทรศัพท์อยู่ในระดับดีมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30