การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ออกกำลังกาย ห่างไกลโรคเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • เนาวรัตน์ จุฑาสงฆ์ สาธารณสุขอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ลดหวาน มัน เค็ม, ออกกำลังกาย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ออกกำลังกาย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท สถานการณ์ สาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหาสุขภาพกล่มุเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และเพื่อสร้างผู้นำนักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้กลยุทธการชี้นำด้านสุขภาพและโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based) สร้างกระบวนการเรียนรู้การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างอนาคตร่วมกัน เพื่อกระตุ้นเสริมพลังความคิดและการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย อสม. 10 คน ผู้นำนักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 10 คน กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง 40 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม และประเมินผลลัพธ์ด้านสุขภาพ

             ผลการวิจัยพบว่าการเพิ่มผลผลิตภาคการเกษตรทำให้เกิดปัญหาสุขภาพโดยสถิติสถานการณ์กลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังสูง แนวทางการดำเนินงานใช้ชุมชนเป็นฐานวิเคราะห์และร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยใช้กลยุทธการชี้นำด้านสุขภาพและกระบวนการเรียนรู้การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม MA-3S-AE ประกอบด้วย Motivation, Attitude, Self-Efficacy, Self-Control, Social group, Awareness และ Empowerment ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความมุ่งมั่นในการสร้างโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เป้าหมายหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต้นแบบ พัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยการมีส่วนร่วม และการสร้างผู้นำนักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง โดยสะท้อนผลการปรับเปลี่ยนด้วยกระบวนการ After Action Review: AAR พบว่า มีการรับรู้ความรู้ความสามารถในการดูแลและควบคุมตนเอง มีทักษะและความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีผลลัพธ์ด้านสุขภาพดีขึ้น ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถเป็นแบบอย่างให้คนในชุมชนได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30