ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยในที่ได้รับการวินิจฉัยโรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยในหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน, ลักษณะทางคลินิก, ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อระยะการนอนโรงพยาบาลนานบทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล : ศึกษาลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยในโรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน
และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อระยะการนอนโรงพยาบาลนาน( 5 วัน)
วัตถุประสงค์ : การศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา : ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยเด็กในโรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลันในโรงพยาบาลท่าตูมด้วย
รหัส ICD-10 J21 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยในหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน 292 เหตุการณ์ เพศชาย ร้อยละ 59.2 อายุเฉลี่ย 6.6 เดือน กลุ่มอายุน้อยกว่า 12 เดือนร้อยละ 69.9 เคยมีประวัติรักษาด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจมาก่อน ร้อยละ 51.0 เคยมีประวัติหอบหายใจWheeze ร้อยละ 40.8 มีการรักษาด้วย Salbutamol ทุกรายและรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ได้แก่ การเคาะปอด ยาปฏิชีวนะ สเตียรอยด์ พบผู้ป่วย 2 เหตุการณ์ที่ปฏิเสธการรักษา ระยะการนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยคือ 3.7 วัน ปัจจัยที่มีผลต่อระยะการนอนโรงพยาบาลนาน(5 วัน) ได้แก่เด็กที่มีอายุ 3 เดือน(p= <0.001) มีประวัติติดเชื้อทางเดินหายใจก่อนหน้า(p=0.005) มีไข้(p=<0.001) หายใจเร็ว(p=0.023) เคยมีประวัติหอบหายใจWheeze(p=0.016 และเด็กที่มีข้อบ่งชี้ในการนอนโรงพยาบาลคือมีอาการหายใจลำบาก(p=0.002) และผู้ปกครองไม่สามารถดูแลได้ (p=0.01) การให้สารน้ำ(p=0.021) และยาปฏิชีวนะ(p= <0.001) ในขณะที่ปัจจัยอื่น ๆ ไม่มีความสัมพันธ์ชัดเจน การรักษาที่มีผลต่อระยะการนอนโรงพยาบาลนาน ได้แก่การรักษาด้วยสารน้ำมีผล 3.24 เท่า(OR 3.24, 95%CI 1.19, 8.8, p= 0.021) และการรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะ 6.7 เท่า (OR 6.7, 95%CI 3.51, 12.81, p=<0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป : หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลันพบมากในเด็กอายุน้อยกว่า 12 เดือน มีการระบาดมากในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม ระยะนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 3.7 วัน ปัจจัยที่มีผลทำให้นอนโรงพยาบาลนานได้แก่ ผู้ป่วยเด็กที่มีอายุ 3 เดือน มีประวัติติดเชื้อทางเดินหายใจก่อนหน้า มีไข้ หายใจเร็ว เคยมีประวัติหอบหายใจWheeze และในกลุ่มเด็กที่แรกรับข้อบ่งชี้ในการนอนโรงพยาบาลมีอาการหายใจลำบาก รวมทั้งผู้ปกครองไม่สามารถดูแลได้