ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ปิยนุช ปฏิภาณวัตร โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์การเสียชีวิตของผู้ป่วยโรค COVID-2019

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและเหตุผล : สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทั่วโลกอย่างรวดเร็วรุนแรงขึ้นอัตราตายร้อยละ 2 ประเทศไทยอัตราตายร้อยละ 1 จังหวัดกาฬสินธุ์ อัตราตายร้อยละ 0.7
วัตถุประสงค์ : ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19
ระเบียบวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ แบบ Case-control study กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 ที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2564 – 31 ตุลาคม 2564 จำนวน 203 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มศึกษา (Case) คือ ผู้ป่วยโควิดที่เสียชีวิต จำนวน 57 ราย และกลุ่มควบคุม (Control) คือ ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่รักษาหาย จำนวน 146 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบสัดส่วน โดยใช้สัดส่วนในการกำหนดขนาดตัวอย่างระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมเป็น 1:3 วิเคราะห์ข้อมูล เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ตัวแปรกับการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ด้วยใช้สถิติ Multivariable logistic regression นำเสนอค่าขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted Odd’s ratio และค่าช่วงเชื่อมั่น , 95% Confidence interval
ผลการศึกษา ; ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ ที่เพิ่มขึ้นทุก 10 ปี จะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิต เพิ่มขึ้น 2.2 เท่า (ORadj= 2.2,95%CI: 1.4 – 3.7, p < 0.001) การสัมผัสใกล้ชิดผู้ที่ป่วยเป็นโรคโควิด-19 (ORadj=5.5,95%CI: 2.6–11.5, p <0.001) ผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ORadj= 4.4,95%CI: 1.7–11.5, p<0.001) ภาพถ่ายรังสีทรวงอกพบความผิดปกติแรกรับ (ORadj= 10.1,95%CI: 2.7 – 36.6, p<0.001) ค่า C reactive protein ที่เพิ่มขึ้น 3.7 เท่า (ORadj=3.7,95%CI: 1.8–7.6, p <0.001)
สรุป; ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน ความผิดปกติจากภาพถ่ายรังสีทรวงอกแรกรับ ค่า C Reactive Protein (CRP) สูงขึ้น มีผลต่อการเสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-22