ผลการรักษา Lumbar radicular pain โดยวิธีฉีดยาช่องโพรงประสาทสันหลังด้วยยาTriamcinolone acetonideขนาด 40 mg เทียบกับขนาด 80 mg
บทคัดย่อ
Therapeutic research รูปแบบ Randomize control trial study(RCT)เก็บข้อมูลแบบ Prospective data collectionในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธี EDSI ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2564 – 15 สิงหาคม พ.ศ.2564แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม ด้วยการสุ่ม random block stratified by SLRT positive ทั้งสองกลุ่มได้รับการทำหัตถการ EDSI ด้วยขนาดยา Triamcinolone 40 mgจำนวน 37 ราย และขนาดยาTriamcinolone 80 mg จำนวน 37 ราย รวมผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาวิจัยทั้งสิ้น 74 คน จดบันทึกและติดตามผลการรักษา ภาวะแทรกซ้อนภายหลังการทำหัตถการที่เวลา 24 ชั่วโมง, 1 เดือน และ 3 เดือน
ผลการวิจัย: จากการศึกษาเปรียบเทียบ ประสิทธิภาพในการรักษา Lumbar radicular pain ด้วยขนาดยา Triamcinolone 40 mg เทียบกับ ขนาดยา Triamcinolone 80 mgลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาวิจัย เช่น อายุ เพศ BMI ระยะเวลาที่มีอาการ และอาการปวดแรกรับ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า ขนาดยาทั้ง 2 กลุ่มให้ผลการรักษาลดอาการปวดเอวร้าวลงขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายหลังจากการได้รับการทำหัตถการ และหลังการรักษา ทั้งสองกลุ่มมีระดับคะแนนความปวดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ24ชั่วโมง(p=0.809),1 เดือน(p=1.000) และ3 เดือน(p=0.758)ให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกัน และไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการ
สรุปผล:จากผลการศึกษาพบว่าขนาดยาTriamcinolone ทั้ง 40 mg และ80 mg ไม่พบความแตกต่างกันในการควบคุมความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธี EDSI และได้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ ไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาจึงแนะนำการใช้Triamcinolone 40 mgในการรักษาด้วยวิธี EDSI เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาน้อยที่สุดที่ยังคงประสิทธิภาพในการรักษา ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงความคุ้มค่าคุ้มทุน