ระบบบริการสุขภาพจิตมารดาหลังคลอดในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านเปลือย อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร อินทรักษ์ -

คำสำคัญ:

Postpartum mental health care system

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ระบบบริการสุขภาพจิตของมารดาหลังคลอด ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเปือย อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม มีระยะเวลาการศึกษา ระหว่างเดือน มีนาคม 2564 –กรกฎาคม 2565 รวม 17 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอด 4-16 สัปดาห์ ที่อาศัยอยู่ในตำบลบ้านเปือย อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 36 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน และแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าต่ำสุด สูงสุด  Dependent t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

           ผลการศึกษา พบว่า มารดาหลังคลอด ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20 – 35 ปี (ร้อยละ 86.11)           มีสถานภาพสมรส (ร้อยละ 52.80) การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 38.90)  มีอาชีพรับจ้าง     (ร้อยละ 36.10) มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 0 – 10,000 บาท (ร้อยละ 52.78)  ไม่มีโรคประจำตัว     (ร้อยละ 94.40) และบุตรหลังคลอดมีสุขภาพแข็งแรง (ร้อยละ 100) โดยส่วนใหญ่มารดาคลอดบุตรมาแล้ว   อยู่ในช่วง 8-12 สัปดาห์ (ร้อยละ 38.89)

           ความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดในการรับบริการโดยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข หรือ อสม. โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.10) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ 3 ลำดับแรก พบว่า มารดาหลังคลอดมีความพึงพอใจในบุคลากรที่กระตือรือร้น ใส่ใจ ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำมากที่สุด     ( = 4.29) รองลงมาคือ ชุมชนมีส่วนร่วมช่วยเหลือการบริการ ( = 4.24) และระยะเวลาในการเยี่ยมบ้านเหมาะสมและประทับใจในการเยี่ยมบ้าน ( = 4.15) ตามลำดับ

           ผลการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มพยาบาลวิชาชีพแผนกหลังคลอด ห้องตรวจหลังคลอด พยาบาลรพสต. บ้านเปือย และ อสม. ต่อการให้บริการมารดาหลังคลอดและภาวะซึมเศร้าหลังคลอด โดยภาพรวมเห็นด้วยกับระบบการให้บริการสุขภาพและการเยี่ยมบ้าน อยู่ในระดับมาก ( = 3.85) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ 3

1โรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

ลำดับแรก พบว่า มารดาหลังคลอดและครอบครัวต้อนรับให้ความร่วมมือ และมีความภูมิใจในการให้บริการ มากที่สุด ( = 4.06) รองลงมาคือ ได้ให้บริการตรงตามความต้องการมารดาหลังคลอด, มีการเปิดโอกาสให้มารดาหลังคลอดและครอบครัวซักถามข้อสงสัย หรือสอบถามความเข้าใจในการบริการ และมารดาหลังคลอดอาการดีขึ้นหลังได้รับบริการ ( = 4.00)  และมารดาหลังคลอดได้รับการประเมิน 2Q, ST-5 ( = 3.88) ตามลำดับ

           ผลการแสดงความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบมาตรการหรือโครงการของชุมชนและผู้ให้บริการต่อมารดาหลังคลอดและภาวะซึมเศร้าหลังคลอด โดยภาพรวมเห็นด้วยกับระบบการให้บริการสุขภาพและการเยี่ยมบ้าน อยู่ในระดับมาก ( = 3.75) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ 3 ลำดับแรก พบว่า มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมการบริการ, ชุมชนมีการให้บริการที่มีความพร้อมและสะดวกสบาย และมีความภูมิใจในการให้บริการมากที่สุด ( = 4.20) รองลงมาคือ ทุกคนในชุมชนร่วมมือกันทำกิจกรรมต่างๆ เสมอ  ( = 4.10)  และเข้าใจรูปแบบและมาตรฐานการบริการต่อชุมชน และมารดาหลังคลอดอาการดีขึ้นหลังได้รับบริการ ( = 3.90) ตามลำดับ

           ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบอาการหรือความรู้สึกภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ที่เกิดก่อนและหลังได้รับการบริการสุขภาพและเยี่ยมบ้านมารดาหลังคลอด ตามแบบประเมินความเครียด (ST-5) ของกรมสุขภาพจิต พบว่า มารดาหลังคลอดที่ได้รับการบริการสุขภาพและเยี่ยมบ้าน มีระดับอาการเครียดหรือความรู้สึกภาวะซึมเศร้าหลังคลอดลดลง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30