ผลของพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • เกษศิริ เจือจันทึก -

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการมีส่วนร่วม, การจัดการตนเอง, โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดหนองคาย ศึกษากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรผู้ให้บริการ จำนวน 35 คน และประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการสร้างเสริมสุขภาพตนเอง จำนวน 368 คน ระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2565 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามบุคลากรและแบบสอบถามประชาชนกลุ่มเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, paired T-Test และ Wilcoxon matched paired test

ผลการศึกษา พบว่าสถานการณ์และปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยเข้าถึงข้อมูลอย่างเป็นระบบ ใน Google web จำนวน 78 เรื่อง วิจัยไทย จำนวน 39 เรื่อง วิจัยต่างประเทศ จำนวน 10 เรื่อง กับข้อมูลสถานการณ์โครงการพัฒนาคลินิกไร้พุง จังหวัดหนองคาย กระบวนการพัฒนาโดยจัดกิจกรรมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตนเอง 5 มาตรการ ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร การจัดการคลินิก กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพตนเอง ฝึกอบรมกลุ่มเสี่ยงยึดหลัก 3 อ 2 ส หลังพัฒนาจัดกิจกรรมครอบคลุม 4 มาตรการ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ร้อยละ 100 ได้แก่ แนวทางการส่งต่อแพทย์ การอบรมกลุ่มเสี่ยง บริการเชิงรุกในชุมชน และการบูรณาการ คะแนนความเสี่ยงภาวะสุขภาพดีขึ้นกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ BMI รอบเอว เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และคะแนนรวมความเสี่ยง (Mean= 24.72, SD=20.33, p<0.001) หลังพัฒนามีการควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงดีขึ้น การมีส่วนร่วมจัดการตนเองดีขึ้นและคุณภาพชีวิตทางกายที่ดีขึ้นกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุป การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเอง 5 มาตรการนี้ ทำให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมเสี่ยงลดลงและควบคุมโรคให้อยู่ในระดับปกติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30