การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ยากต่อการรักษา ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลแม่ลาว

ผู้แต่ง

  • ปุณญณิน เขื่อนเพ็ชร์
  • สายสุรีย์ หงส์ศิลา
  • สุดารัตน์ อัตถกิจมงคล

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวาน, รูปแบบการให้ความรู้, การสนับสนุนการจัดการตนเอง

บทคัดย่อ

             การวิจัยเชิงปฎิบัติการ (Action Research) เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน และศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ยากต่อการรักษา ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลแม่ลาว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับยาฉีดอินซูลิน แต่ยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยมีค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ≥10 mg/dl จำนวน 34 คน ขั้นตอนการวิจัย คือ (1) การวิเคราะห์สถานการณ์ (2) พัฒนารูปแบบการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ยากต่อการรักษา (3) การประเมินผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติการทดสอบ ผลการศึกษา (1) การวิเคราะห์สถานการณ์ พบปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (2) การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานตามแนวคิดการจัดการดูแลตนเองของแคนเฟอร์และแกลิกค์ บูรณาการร่วมกับมาตรฐานการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน และ (3) การประเมินผลลัพธ์ผู้ป่วยเบาหวาน พบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองเพิ่มขึ้น ด้านข้อมูลทางคลินิก พบมีค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือดและค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) รูปแบบการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองฯ ที่พัฒนาขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดทักษะและความสามารถในการดูแลโรคเบาหวานด้วยตนเอง ส่งผลให้ควบคุมโรคได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น ซึ่งควรศึกษาในระยะยาวต่อไป 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31