ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ไชยุตม์ ไชยศิวามงคล yangtalad hospital

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ภาระของผู้ดูแล, จิตเภท

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุม(case-control study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก จำนวนทั้งหมด 80 คน โดยกำหนดให้ case คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความรู้สึกเป็นภาระในการดูแล และ control คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความรู้สึกไม่เป็นภาระในการดูแล เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างโดยวิธี Time frame allocation sampling เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดตอบเองที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัคได้เท่ากับ 0.92 แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและปัจจัยด้านสุขภาพบุคคลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและปัจจัยด้านสุขภาพบุคคลของผู้ป่วยจิตเภท แบบสอบถามปัจจัยแวดล้อมด้านครอบครัว เศรษฐกิจ สังคมและทัศนคติ และแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ตัวแปรเชิงเดี่ยว Chi-Square Test และการวิเคราะห์แบบพหุถดถอยโลจิสติก กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทมีความรู้สึกเป็นภาระร้อยละ 70 และไม่มีความรู้สึกเป็นภาระร้อยละ 30 โดยกลุ่มตัวอย่างผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความรู้สึกเป็นภาระจำแนกได้เป็น ความรู้สึกเป็นภาระน้อยร้อยละ 8.8 ความรู้สึกเป็นภาระปานกลางร้อยละ 32.5 และความรู้สึกเป็นภาระมากร้อยละ 28.8 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P<0.05) มีทั้งหมด 2 ปัจจัย  ได้แก่ ปัจจัยด้านแหล่งที่มารายได้ของครอบครัวมาจากผู้ดูแลทางเดียว มีความรู้สึกเป็นภาระ 12.57 เท่า ของผู้ดูแลที่มีรายได้จากผู้อื่นร่วมด้วย(Adjusted OR = 12.57[95%CI: 1.14-138.94], p-value=0.039)  และปัจจัยด้านอาการจิตเภทแย่ลงในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้ดูแลมีความรู้สึกเป็นภาระ 18.91 เท่า ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการคงที่หรือดีขึ้น(Adjusted OR = 18.91  [95%CI: 1.69-211.68], p-value=0.017)ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาวิจัยโปรแกรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและลดภาระในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท โดยตระหนักถึงปัญหาและความต้องการในพื้นที่

คำสำคัญ : ปัจจัย, ภาระของผู้ดูแล, จิตเภท

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13