ประสิทธิผลโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเสมือนจริง

ผู้แต่ง

  • กนกศรี จาดเงิน
  • วิชชุดา ปุณโณทก

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, คลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เสมือนจริง

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย Retrospective Cohort Study แบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลประสิทธิผลโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพเสมือนจริง กลุ่มตัวอย่าง คือข้อมูลที่ถูกบันทึกในฐานข้อมูลเวชระเบียนและรายงานผู้รับบริการของผู้ป่วยคลินิก DPAC ปีงบประมาณ 2563 - 2565 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบเก็บข้อมูลเปรียบเทียบประสิทธิผลโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.98 2) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่น 0.91 3) แบบวัดทักษะด้านพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่น 0.75 4) แบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 และ 5) โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเสมือนจริง ที่มีค่าค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา 0.97 ค่าประสิทธิภาพของโปรแกรม E1 : E2 เท่ากับ 82.50 : 85.50 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่ม แบบ nonparametric คือ Wilcoxon Signed-Rank Test ส่วนสถิติที่ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม คือ Mann-Whitney U test
     ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความรู้ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิตหลังการทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มผู้รับบริการที่ได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเสมือนจริง มีความรู้ หลังการทดลองแตกต่างจากผู้รับบริการที่ได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในคลินิก DPAC โรงพยาบาลบางปะกง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31