ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายกับการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว เทศบาลนครอุดรธานี ปี 2562-2565

ผู้แต่ง

  • วาทิต สุวรรณศรี -

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: ไข้เลือดออก, ดัชนีลูกน้ำยุงลาย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยยุงลายที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเขตเมือง ซึ่งมาตรการป้องกันควบคุมโรคเน้นที่การควบคุมยุงพาหนะและลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตั้งแต่ปี 2562 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว เทศบาลนครอุดรธานี ได้ดำเนินการสุ่มประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่รับผิดชอบ  การศึกษานี้รวบรวมข้อมูลดัชนีลูกน้ำยุงลาย เพื่อศึกษาความชุกของลูกน้ำยุงลายในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว เทศบาลนครอุดรธานี และศึกษาความสัมพันธ์ของดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายกับการเกิดโรคไข้เลือดออก ในปี  2562-2565 ยกเว้นปี 2564 ซึ่งไม่มีผู้ป่วยไข้เลือดออก ผลการศึกษาพบว่าการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายสูงสุด ในปี 2565 บ้านที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลาย (HI) สูงสุดคิดเป็นร้อยละ 17.54 ภาชนะที่พบลูกน้ำ(CI) สูงสุด คิดเป็นร้อยละ 5.73 ส่วนในปี 2563 จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำต่อบ้าน 100 หลังคาเรือน (BI) สูงสุด คิดเป็นร้อยละ 22.00 การสำรวจภาชนะเสี่ยง พบว่าภาชนะเสี่ยงที่พบลูกน้ำมากที่สุดในภาพรวมตั้งแต่ ปี 2562-2565 ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว เทศบาลนครอุดรธานี ได้แก่ ภาชนะที่ไม่ได้ใช้ ร้อยละ 22 รองลงมา ได้แก่ ภาชนะอื่นๆที่ใช้ประโยชน์ ร้อยละ 16 ที่รองน้ำหลังตู้เย็นและภาชนะน้ำใช้ ร้อยละ 14 เท่ากัน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายกับการเกิดโรคไข้เลือดออก พบว่าอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกกับค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย  (HI, CI และ BI) ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว เทศบาลนครอุดรธานี ไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value > 0.05)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31