ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และความเครียดในผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลนครปฐม
คำสำคัญ:
ภาวะซึมเศร้า, ภาวะวิตกกังวลและความเครียดในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง(Cross sectional study)มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และความเครียดในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน ดำเนินการระหว่าง 10 กันยายน 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความเครียด ความวิตกกังวล ความเศร้า 21 คำถาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละและค่าไคสแควร์
ผลการวิจัยภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม จากผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้งหมด 150 คน พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง(ร้อยละ67.3) อายุเฉลี่ยของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท คือ 51 ปี ผลภาวะภาวะซึมเศร้า DASS-21 พบมีความเสี่ยงภาวะซึมเศร้า 90คน(ร้อยละ60) ผลภาวะวิตกกังวล DASS-21 พบมีความเสี่ยงภาวะวิตกกังวล 92คน(ร้อยละ61.3) ผลความเครียด DASS-21 พบมีความเสี่ยงภาวะเครียด 55คน(ร้อยละ36.7) พบปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลหลักในผู้ป่วยจิตเภทอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ อายุของผู้ดูแล ความสัมพันธ์ของผู้ป่วย การศึกษาสูงสุด สิทธ์การรักษาของผู้ป่วย รายได้ของผู้ดูแล รายได้ของครอบครัวเพียงพอต่อค่าใช้จ่าย โรคประจำตัวของผู้ดูแล การมีผู้อื่นร่วมดูแลผู้ป่วย ระยะเวลาดูแลผู้ป่วยต่อวันผู้ป่วยเคยทำร้ายร่างกาย/ทำให้ทรัพย์สินเสียหายผู้ป่วยมีใช้สารเสพติดต่างๆร่วมด้วยอาการปัจจุบันของผู้ป่วยความรู้สึกของผู้อื่นต่อผู้ป่วย/โรคที่ผู้ป่วยเป็นความรู้สึกของผู้อื่นต่อผู้ป่วย/โรคที่ผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยเคยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้านจิตเวชค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับบริการระยะเวลาในการเดินทางระยะเวลาในการมารับบริการ และสังคม/ชุมชนให้ความช่วยเหลือสนับสนุนในการดูแลผู้ป่วย พบปัจจัยที่มีผลต่อภาวะวิตกกังวลและความเครียดในผู้ดูแลหลักในผู้ป่วยจิตเภทอย่างมีนัยสำคัญคล้ายคลึงกับปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลหลักในผู้ป่วยจิตเภทเช่นกัน