ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ภายใต้สถานการณ์ การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในบริบทการปรับพฤติกรรมตามแบบวิถีใหม่ (New normal) ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • บัวลักษณ์ จันทระ
  • กัณฐมณี สินพิทักษ์เขต

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, วิถีใหม่, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือพื้นที่

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยภาคตัดขวาง (A cross-sectional analytical study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนฯ ภายใต้สถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในบริบทการปรับพฤติกรรมตามแบบวิถีใหม่ (New normal) ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน โดยการสุ่มแบบการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มเลือกอย่างง่ายตามประมาณค่าสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน

     ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง เพศชายและเพศหญิง ใกล้เคียงกัน คิดเป็นร้อยละ 45.8 และ 54.2 กลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มอายุ 45-53 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.7 สถานภาพสมรส ร้อยละ 56.7 ส่วนใหญ่จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 56.7  ระยะเวลาการปฏิบัติงานในหน่วยงาน มากกว่า 5 ปีขึ้นไปมากที่สุด ร้อยละ 60 ประสบการณ์ที่ปฏิบัติงานในการดำเนินงานและการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพใน ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มากกว่า 5 ปีขึ้นไป ร้อยละ 56.7  เคยมีประสบการณ์การเข้าอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในรอบปีที่ผ่านมา ร้อยละ 75.8 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ความรู้ความเข้าใจในหลักการวัตถุประสงค์ กฎระเบียบของนโยบายกองทุนฯ การรับรู้ผลประโยชน์กองทุนหลักประกัน สุขภาพในระดับท้องถิ่นและบทบาทของคณะกรรมการ การรับรู้โครงสร้างขององค์กร การบริหารจัดการ ผลการดำเนินงาน และนวัตกรรมของกองทุน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการบริหารกองทุนฯ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value <0.05)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31