การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแนวคิดกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research ; & Development) เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น พื้นที่ทำการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ได้ทำการวิจัยในพื้นที่กองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 13 แห่ง โดยเก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 130 คน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุทุกภาคส่วน จำนวน 117 คน ในการวิเคราะห์ประสิทธิผลของรูปแบบฯที่พัฒนาขึ้น ประเมินโดยเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงก่อนและหลังการใช้รูปแบบฯ เป็นเวลา 6 เดือน ด้วยสถิติ paired t-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% CI รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการหลัก 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมและป้องกันการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกภาคส่วน, 2. การดำเนินงานดูแลสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มีการประสานความร่วมมือของครอบครัว เพื่อนบ้าน ชุมชน และทุกภาคส่วน และ 3. การให้คำปรึกษาและควบคุมกำกับ ติดตาม สรุปและประเมินผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา ประสิทธิผลของรูปแบบฯที่พัฒนาขึ้น ประเมินโดยเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ก่อนและหลังการใช้รูปแบบฯ เป็นเวลา 6 เดือน ด้วยสถิติ paired t-test พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.001) เมื่อพิจารณาคุณภาพชีวิตรายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งสี่ด้าน (p = 0.001)