ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อลำไส้และรอยแผลผ่าตัดทวารหนักตีบแคบหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคผนังลำไส้ไม่มีเซลล์ปมประสาท, 5 ปีในโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พนิดา บุปผาไชย -
  • จารุพงษ์ น้อยตำแย

คำสำคัญ:

โรคผนังลำไส้ไม่มีปมประสาท, ลำไส้โป่งพองตั้งแต่กำเนิด, การติดเชื้อลำไส้หลังการผ่าตัด, แผลผ่าตัดทวารหนักตีบแคบหลังการผ่าตัด

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยโรคผนังลำไส้ไม่มีเซลล์ปมประสาทและศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดในโรคผนังลำไส้ไม่มีปมประสาทโดยมุ่งเน้นในภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือ การติดเชื้อลำไส้และรอยแผลทวารหนักตีบแคบในโรงพยาบาลอุดรธานี ทำการศึกษาแบบ Retrospective cohort study ที่มีการเก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคผนังลำไส้ไม่มีเซลล์ปมประสาทที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาจนสิ้นกระบวนการรักษาในโรงพยาบาลอุดรธานีระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ในโรงพยาบาลอุดรธานี

     ผลการศึกษา : ผลการศึกษาผู้ป่วยโรคผนังลำไส้ไม่มีปมประสาททั้งหมด 45 รายเพศชาย 37 รายเพศหญิง 8 รายมีความผิดปกติร่วมทั้งหมด 7 ราย เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดทั้งหมด 26 รายร้อยละ 57.7 พบภาวะติดเชื้อลำไส้หลังการผ่าตัด 20 รายร้อยละ 44.4 และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดติดเชื้อลำไส้หลังการผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือมีภาวะติดเชื้อลำไส้ก่อนการผ่าตัด(p-value 0.036)และแผลผ่าตัดทางทวารหนักตีบแคบ(Log rank test, p-value 0.03) พบภาวะแผลผ่าตัดทางทวารหนักตีบแคบได้ 10 รายร้อยละ 22.2 และปัจจัยที่มีผลต่อแผลผ่าตัดทางทวารหนักตีบแคบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือการติดเชื้อลำไส้หลังการผ่าตัด(p-value0.039)และอายุขณะผ่าตัดน้อยกว่า 30 วัน(Log rank test, p-value 0.028)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31