การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการหอบกำเริบเฉียบพลัน:กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • บุญสว่าง พิลาโสภา

คำสำคัญ:

การพยาบาล, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, อาการหอบกำเริบเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

          ความเป็นมา:โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะหอบกำเริบเฉียบพลันเป็นโรคเรื้อรังไม่ติดต่อที่สำคัญและเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขเป็นภาวะวิกฤติทำให้อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้นการให้การพยาบาลในระยะวิกฤตที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยขึ้น

          วัตถุประสงค์ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะราย (case study) เพื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการหอบกำเริบเฉียบพลัน จำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลส่องดาว เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย1)แบบบันทึกข้อมูลรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกข้อมูลการให้บริการที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแผนกผู้ป่วยนอกและข้อมูลผู้ป่วยใน2)การสังเกตสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบตามแบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ อาการแสดง และการรักษา 3) แบบบันทึกทางการพยาบาล โดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน เพื่อให้ทราบปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกันเรื้อรังที่มีอาการหอบกำเริบเฉียบพลันกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลให้การพยาบาลและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิกฤต ระยะฟื้นฟูสภาพ และระยะก่อนจำหน่าย

          ผลการศึกษา : จากการศึกษากรณีศึกษาทั้ง 2 รายเป็นผู้สูงอายุ มีประวัติโรคติดเชื้อทางเดินหายใจร่วมด้วยประวัติที่เกี่ยวข้องทำให้มีโอกาสสูงที่จะทำให้เกิดอาการหอบกำเริบเฉียบพลัน การประเมินผู้ป่วยในภาวะวิกฤติอย่างรวดเร็วและการให้การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดความรุนแรงลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ รวมทั้งการวางแผนการจำหน่ายและการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยความร่วมมือของทีมสหขาขาวิชาชีพ ผู้ป่วยและญาติจะช่วยลดอุบัติการณ์อาการหอบกำเริบเฉียบพลันดังนั้นพยาบาลจึงมีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยทั้งในภาวะปกติและวิกฤติซึ่งต้องมีความรู้ ทักษะ ความชำนาญที่เป็นพิเศษในการดูแลผู้ป่วย เพื่อนำไปวางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานสอดคล้องกับแผนการรักษาตั้งแต่แรกรับจนจำหน่าย เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31