รูปแบบการเสริมสร้างท่าทางการทำงานที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ในสถานประกอบการในจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • กัญญารัตน์ พรพนม -

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างท่าทางการทำงานที่เหมาะสม, หลักการยศาสตร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเข้าใจต่อความสามารถในการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ในสถานประกอบการ  2) ศึกษารูปแบบการเสริมสร้างท่าทางการทำงานที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ในสถานประกอบการ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ และ 3) ศึกษาผลของรูปแบบการเสริมสร้างท่าทางการทำงานที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ในสถานประกอบการ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พนักงานที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 214 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน ได้แก่ Dependent t – test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

        ผลการศึกษา 1) สภาพการทำงานของพนักงานในสถานประกอบการในจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ สาเหตุอาการบาดเจ็บจากการทำงาน ปัญหาการยศาสตร์ที่พบบ่อย และความเสี่ยงต่อการป่วยออฟฟิศซินโดรม 2)  ความเข้าใจต่อความสามารถในการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ในสถานประกอบการก่อนการดำเนินงาน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง หลังการดำเนินงาน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3) รูปแบบการเสริมสร้างท่าทางการทำงานที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ในสถานประกอบการในจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย การยศาสตร์คืออะไร ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ปัญหาการยศาสตร์ที่พบได้บ่อย อาการปวดเมื่อยไหล่และแขน อาการปวดเมื่อยหลังส่วนล่าง อาการปวดเมื่อยขาและหัวเข่า อุปกรณ์และเครื่องทุ่นแรง เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และภาวะออฟฟิต ซินโดรม 4) การเปรียบเทียบความเข้าใจต่อความสามารถในการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ในสถานประกอบการก่อนและหลังการดำเนินงาน พบว่า  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการอบรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการอบรม (ค่า t เป็นลบ)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31