การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องบทคัดย่อ
โรงพยาบาลมัญจาคีรีดำเนินการรักษาผู้ป่วยนรีเวชที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดมดลูกด้วยการผ่าตัดทางหน้าท้อง เริ่มครั้งแรกในปี 2564 ปัญหารที่พบในการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูก คือการให้ความรู้ คำแนะนำในการปฏิบัติตัวก่อนการผ่าตัดและหลังผ่าตัด ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความกลัว ความวิตกกังวลในการปฏิบัติตัว กลัวการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งหน่วยงานยังไม่มีแนวทางปฏิบัติการพยาบาลที่ทันสมัย ไม่มีคู่มือการให้คำแนะนำสำหรับผู้รับบริการผ่าตัดมดลูกทางนรีเวชเป็นการเฉพาะ วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษา กิจกรรมการพยาบาลในผู้ป่วยผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง จำนวน 2 ราย ซึ่งเข้ารับการผ่าตัดด้วยวิธีเปิดทางหน้าท้อง โดยการศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน แบบบันทึกทางห้องผ่าตัด การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ
ผลการศึกษา พบว่า 1) ระยะก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยทั้งสองรายมีความวิตกกังวล เนื่องจากเป็นการผ่าตัดครั้งแรกและเป็นการผ่าตัดที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ ส่งผลให้มีความวิตกเพิ่มขึ้น 2) ระยะผ่าตัด ผู้ป่วยที่สองรายมีความเสี่ยงเหมือนกัน คือ 1) เสี่ยงต่ออุณหภูมิร่างกายต่ำ 2) เสี่ยงต่อการติดเชื้อ 3) เสี่ยงต่อการเสียเลือดมาก 3) ระยะหลังผ่าตัด พบว่า ผู้ป่วยทั้งสองรายมีปัญหาคล้ายกันคือ 1) ความไม่สุขสบายเนื่อจากปวดแผล 2) ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเรื่องการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้าน 3) ผู้ป่วยไม่กล้าเคลื่อนไหวร่างกายเนื่องจากกลัวเจ็บแผลและกลัวแผลแตก จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำผลการศึกษาไปใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่มีคุณภาพ ลดความวิตกกังวลและสามารถปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัดได้อย่างถูกต้องลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้