การพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ จันทร์เล็ก -
  • อรุณี ขันขวา

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, กระบวนการ AIC, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมด้วยเทคนิคAIC ร่วมวางแผนในการดาเนินงานโดยมีภาคีเครือข่ายประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ/ศูนย์สุขภาพชุมชน ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในชุมชน ผู้ดูแลผู้ป่วย และผู้นำชุมชนเข้าร่วมในกระบวนการ จำนวน 66 คน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาตลอดจนความต้องการด้านการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง การกำหนดเป้าหมายและสังเคราะห์วิธีปฏิบัติเพื่อการการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนการสร้างการเรียนรู้ (Appreciation หรือ A) 2) ขั้นตอนการสร้างแนวทางการพัฒนา (Influence หรือ I) และ3) ขั้นตอนการสร้างแนวทางปฏิบัติ (Control หรือ C) สรุปผลการดำเนินงาน กระบวนการดังกล่าวส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจถึงสถานการณ์และสภาพปัญหาของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่ และร่วมกันกำหนดแผนงาน/โครงการเพื่อพัฒนาระบบดูแลดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่ ทำให้เกิดโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 3 โครงการ กระบวนการดังกล่าวส่งผลให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงผลลัพธ์ของระบบที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้ส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนามีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับการมีส่วนร่วมเพิ่มขี้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value<0.001) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value < 0.001) และมีการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยรวมและเป็นรายด้านทุกด้านที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value < 0.001)
และผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความพึงพอใจโดยรวมและเป็นรายด้านทุกด้านที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 (p-value < 0.001) สรุปการใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมเป็นแนวทางที่เหมาะสม คือ คือการเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ทุกระดับเข้ามามีบทบาทร่วมรับผิดชอบ และร่วมดำเนินการโดยมีกลไก การปลูกฝังให้ภาคีเครือข่ายทางสุขภาพในพื้นที่ให้เกิดความตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดความสาเร็จและส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงภาวะที่ดีต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31