การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาวแบบบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ศตวรรษ ศรีพรหม -
  • วรรณภา อินต๊ะราชา
  • วรุณสิริ ทางทอง

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การส่งเสริมสุขภาพ, การพัฒนารูปแบบส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

                 การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาวแบบบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชากรที่ศึกษาในพื้นที่ และสมัครใจเข้าร่วมกระบวนการทุกขั้นตอน ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง คณะกรรมการชมรมผูสูงอายุ/โรงเรียนผูสูงอายุ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (CM) ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (CG) อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น (CCG) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้นำชุมชน พระคิลานุปัฎฐาก (พระ อสว.) ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมทั้งสิ้น 56 คน ผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง 100 คน โดยการหาค่าสัดส่วนในกรณีที่ทราบจำนวนประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

                ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการพัฒนาครั้งนี้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เตรียมความพร้อมพื้นที่ 2) ศึกษาข้อมูลสถานการณ์ และบริบทของชุมชน 3) ปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงาน 4) สื่อสารแนวปฏิบัติต่อเครือข่าย 5) ปฏิบัติตามแผนงานโครงการ 6) นิเทศ ติดตาม สนับสนุน และประเมินผลการดำเนินงาน 7) สรุปผลถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สะท้อนผล ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และปัจจัยแห่งความสำเร็จ ส่งผลให้เกิดรูปแบบจากการพัฒนา เรียกว่า HAS – MAP – ID ประกอบด้วย 1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุ (H : Health Promotion Database System) 2) ส่งเสริมการเข้าถึงและใช้งานแอพลิเคชั่นที่หลากหลาย (A : Access and use applications) 3) ส่งเสริมการรวมกลุ่มกิจกรรมทางสังคม (S : Social Activity Grouping) 4) กำกับ ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน (M : Monitoring and Evaluation) 5) ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ (A : Age - Friendly Communities/Cities)  6) วางแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (P : Participatory Action Plan) 7) บูรณาการความร่วมมือภาคีเครือข่าย (I : Integrate Network Cooperation) 8) พัฒนาศักยภาพ และทบทวนแนวปฏิบัติของทีมงาน (D : Develop Potential and Review Guidelines) ส่งผลให้การมีส่วนร่วมในการพัฒนา และความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และส่งผลให้ผู้สูงอายุ กลุ่มติดสังคม ได้รับการส่งเสริมสุขภาพตามแผนสุขภาพดี Wellness Plan ครอบคลุมความเสี่ยง หลังการส่งเสริมสุขภาพมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น กลุ่มพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม Care Plan ที่มีคุณภาพ และหลังการดูแล การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ADL ดีขึ้น

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31