การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการ การแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อําเภอนาแก จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • เบญจมาศ มาสิงบุญ

คำสำคัญ:

การเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, รูปแบบการเข้าถึงบริการ, ระบบบริการแพทย์ฉุกเฉิน, ผู้ป่วยที่กลุ่มเสี่ยงสูงโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง รูปแบบการวิจัย เชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 28 คน, กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 32 คน กลุ่มหน่วยบริการสุขภาพ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ มีแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป, แบบสอบถามความรู้และการเข้าถึงบริการแพทย์ฉุกเฉิน, แบบสอบถามความพึงพอใจ, แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการพัฒนา การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป, ข้อมูลการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจ, ข้อมูลคะแนนความรู้ด้วยสถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลความรู้โดยใช้สถิติ Dependent pair t-test

     ผลการวิจัย พบว่า 1. ความรู้โรคหลอดเลือดสมองและการเข้าถึงบริการในกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ก่อนและหลังพัฒนาพบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (P value<0.05) 2. ความพึงพอใจ หลังการพัฒนาพบว่า ความพึงพอใจในกิจกรรมการพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มมีความพึงพอใจเพิ่มมากขึ้น จากก่อนพัฒนาในระดับปานกลาง หลังพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็นระดับมากในทุกๆ ด้าน 3. การมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบบริการแพทย์ฉุกเฉิน หลังพัฒนาพบว่าการมีส่วนร่วมก่อนพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง หลังพัฒนาการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นเป็นระดับมากในทุกๆด้าน 4. ผลของการพัฒนาทำให้ได้รูปแบบในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็วและทันเวลามากขึ้น 5. ผลการใช้รูปแบบการเข้าถึงบริการแพทย์ฉุกเฉินพบว่า ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับโรค/การรับรู้อาการ/ช่องทางแจ้งเหตุฉุกเฉินและเข้าถึงบริการแพทย์ฉุกเฉินรวดเร็วและทันเวลามากขึ้น ตัวชี้วัดสำคัญเกี่ยวกับระบบ Stroke Fast Track ด้านการเข้ารับการรักษาไม่เกิน 3 ชั่วโมงผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 และด้านการเข้าถึงบริการด้วยระบบ 1669 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 24.20 เป็นร้อยละ 31.59

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31