การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อเนื่องในชุมชน : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ชญานิศ บุตรดี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, นักบริบาลชุมชน

บทคัดย่อ

     การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังจากจำหน่ายออกจาก โรงพยาบาลแล้วมาดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้านมากกว่า 6 เดือน (Long Term Care) โดยดำเนินการศึกษา ระหว่าง 1 ตุลาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน กรณีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีนักบริบาลชุมชนดูแลและที่ไม่มีนักบริบาลชุมชนดูแล เปรียบเทียบการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาล

     การศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 1 จำหน่ายกลับบ้าน 8 สิงหาคม 2563 กันยายน 2563 มีนักบริบาลชุมชน เข้าไปดูแลที่บ้าน วันละ 4 ชั่วโมงทุกวันช่วงเช้า ยกเว้นวันอาทิตย์ โดยทำกายภาพบำบัดตาม Individual Care Plan ทีร่วมวางแผนการดูแลรักษาโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ ผู้ป่วยยังพูดไม่ชัด on oxygen cannula และใส่สวนปัสสาวะ 4 มกราคม 2564 เริ่มฝึกถอด oxygen และสายสวนปัสสาวะ  และเริ่มพูดสื่อสารได้พอเข้าใจ กุมภาพันธ์ 2564 ผู้ป่วยยังพูดชัดขึ้น อารมณ์ดี และเริ่มหัดเดินโดยใช้ไม้เท้า 16 – 22 กรกฎาคม 2564 หกล้มจากการหัดเดินคนเดียว ได้ไปนอนรักษาในโรงพยาบาลอุบลรัตน์  สิงหาคม 2564 เดินออกนอกบ้านได้ไกลขึ้น สมารถเรียกชื่อลูกได้อย่างถูกต้อง ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 2 ปี 2564 มาด้วยอาการซึม ไม่พูด อ่อนแรงซีกขวา ส่งตัวไปโรงพยาบาลขอนแก่น วินิจฉัย basal ganglion hemorrhage รักษาโดยการไม่ผ่าตัด ทำกายภาพบำบัด ควบคุมระดับน้ำตาล และควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ แต่ครั้งนี้อาการอ่อนแรงไม่ดีขึ้น แขนขาซีกขวาอ่อนแรงระดับ 2 ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงมีภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนบ่อย และได้เข้าสู่การรักษาแบบประคับประคอง  

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31