ประสิทธิผลการพัฒนาปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สุกมล วงศ์คูณ

คำสำคัญ:

การปฏิบัติทางการพยาบาล, ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการพัฒนา 3 วงรอบซึ่งแต่ละวงรอบของการพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นการปฏิบัติ (Action) ขั้นการสังเกต (Observation) ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflection) และประเมินผลการพัฒนาปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis)ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ AGREEII Thailand ดำเนินการศึกษาในเดือนตุลาคม2564-พฤษภาคม2565 กลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตระการพืชผลที่คัดเลือกแบบสุมอย่างง่าย คือ 1) ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยการติดเชื้อในกระเเสเลือด จำนวน 87 ราย 2) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานผู้ป่วยนอก งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน หอผู้ป่วยอายุรกรรมชายและหญิง หอผู้ป่วยอายรุกรรมหนัก จำนวน 50 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ร่วมกับใช้สถิติพื้นฐาน ผลการศึกษา พบว่าแนวทางปฏิบัติในภาพรวมมีคุณภาพสูงสุดที่เป็นไปได้ ประสิทธิผลของการใช้ปฏิบัติการพยาบาลกับผู้ป่วยติดเชื้อในกระเเสเลือด พบว่า อัตราการเสียชีวิต ลดลงคิดร้อยละ0.35 อัตราการได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงหลังการวินิจฉัย เพิ่มขึ้นร้อยละ91.23 อัตราได้รับการตรวจเพาะเชื้อในเลือดก่อนได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 45 นาที เพิ่มขึ้นร้อยละ92.15 อัตราการได้รับสารน้ำอย่างรวดเร็วใน 30 นาที เพิ่มขึ้นร้อยละ94.28 อัตราที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลในไอซียู ภายใน 3 ชม. ลดลงร้อยละ87.65 อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลดลง เช่น ไตวายเฉียบพลันรุนแรง(serum creatinine > 5.0 ) ร้อยละ 0.78 การหายใจล้มเหลว ร้อยละ1.23 ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย(DIC) ร้อยละ 1.22 และพยาบาลวิชาชีพผู้ใช้ปฏิบัติการพยาบาล มีความคิดเห็นต่อปฏิบัติการพยาบาลนี้อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30