การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, การดูแลสุขภาพชีวิตวิถีใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ อำเภอเมืองอุบลราชธานี ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมการโดยการศึกษาบริบทการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 2) ระยะดำเนินการวางแผนกิจกรรมการดูแลสุขภาพ ได้แก่ 2.1) วางแผน 2.2) ปฏิบัติการตามกิจกรรมการดูแลสุขภาพชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ 2.3) ติดตามประเมินผล2.4) สะท้อนผล 3) ระยะประเมินผลการพัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยมี 3 กลุ่ม คือ 1) การศึกษาบริบทการดูแลผู้สูงอายุเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 385 คน 2) กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนารูปแบบฯ เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ จำนวน 42 คน 3) กลุ่มตัวอย่างในการประเมินผลรูปแบบฯ เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น ระหว่าง 0.82 - 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และ Paired Sample t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
- รูปแบบการดูแลสุขภาพชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย 8 กิจกรรม ดังนี้ 1) กำหนดนโยบายในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 2) วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ 3) จัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุ 4) จัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ 5 กิจกรรม คือ 4.1) เมนูชูสุขภาพ 4.2) ออกกำลังกายวันละนิด 4.3) สร้างสรรค์พลังคิดบวก 4.4) 3 อ. ยืดชีวิต (อาหาร,ออกกำลังกาย,อารมณ์) 4.5) ห่างไกลโควิด 5) จัดบริการในสถานบริการ 6) จัดบริการดูแลสุขภาพเชิงรุกในชุมชน 7) พัฒนาศักยภาพเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 8) พัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุ
- หลังการพัฒนารูปแบบฯ พบว่า ความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ หลังการพัฒนารูปแบบ ดีขึ้นกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) ความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.97, SD=0.49) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ความสามัคคี กิจกรรมที่ชัดเจนปฏิบัติได้จริง การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุ การแนวปฏิบัติที่ดี จิตอาสาในการทำงานชุมชน งบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอ การมีเป้าหมายเป้าหมายเดียวกัน ข่าวสารที่เชื่อถือได้