การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม การทำกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ สมองเสื่อมด้วยโปรแกรม Reducing Disability in Alzheimer ( RDAD): กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ประวีณา ศรีบุตรดี -

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ผู้สูงอายุสมองเสื่อม, การทำกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม

บทคัดย่อ

     ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ในผู้ป่วยสมองเสื่อม (Behavioral and Psychological Symptoms of Dementia: BPSD) เป็นกลุ่มอาการทางจิตและประสาท (neuropsychiatric symptoms) ซึ่งจะแสดงอาการให้เห็นในระยะกลางและระยะท้ายๆ ของภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยสมองเสื่อมร้อยละ 60 - 90 จะมีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ อย่างน้อยหนึ่งปัญหาในตลอดช่วงระยะของการเจ็บป่วยด้วยภาวะสมองเสื่อม ปัญหามีความรุนแรงในระดับที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ในผู้ป่วยสมองเสื่อมเหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามระดับความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อม ทำให้เกิดความยากลำบากในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ เพิ่มภาระให้กับครอบครัวและผู้ดูแลผู้ป่วย อาจทำให้เกิดความรู้สึกตึงเครียด รู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแล (caregiver burden) ซึ่งเมื่อผู้ดูแลเกิดความรู้สึกเป็นภาระขึ้นก็จะส่งผลต่อคุณภาพในการดูแล และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยสมองเสื่อมและผู้ดูแล การวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่องในชุมชน และบูรณาการการทำกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุสมองเสื่อมด้วยโปรแกรมReducing Disability in Alzheimer(RDAD) นำมาพัฒนาการดูแลผู้ป่วยสูงอายุสมองเสื่อมได้ ครอบครัว/ผู้ดูแล มีความรู้ความเข้าใจและสามารถให้การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมได้เข้าถึงระบบบริการสุขภาพ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและผู้ดูแลให้ดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30