การพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้การดูแลตนเองผู้ป่วยซีดไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • เพลิน สูงโคตร

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การดูแลตนเองผู้ป่วยซีดไตวายเรื้อรัง, โปรแกรมความรู้

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมให้ความรู้การดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะซีดไตวายเรื้อรัง ใช้กระบวนการวิจัยกึ่งทดลองและการพัฒนาคุณภาพ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 1-5 มีคุณสมบัติที่ตามกำหนด เก็บรวบรวมข้อมูล จาก แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อระยะเวลากรกฏาคม 2563 - กรกฏาคม 2564 ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการการบำบัดทดแทนไตจานวน 22 ราย ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่าฮีโมโกลบินและอัตราการกรองของไต ระยะเวลา 2564-2565 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติเชิงอ้างอิง เปรียบเทียบก่อนและหลังโดยใช้ paired t- test

     ผลการศึกษา พบว่า ระยะที่ 1 ผู้เข้าร่วมวิจัย จำนวน 51 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ร้อยละ 74.47 และ 75 เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 70.36 และ 75.55 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในผู้ป่วยที่มีภาวะซีดไตวายเรื้อรังกลุ่มที่ 1 ก่อนและหลังหลังมีความแตกต่างกันการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่มีภาวะซีดไตวายเรื้อรังกลุ่มที่ 1 ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญและการเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยซีดไตวายเรื้อรังระหว่างกลุ่มที่ 1 กับกลุ่มที่ 2 ไม่แตกต่างกัน ระยะที่ 2 จานวน 22 ราย เพศหญิงร้อยละ 74.50 อายุมากที่สุด 56-65 ปีร้อยละ 39.21 การเปลี่ยนแปลงอัตราการ กรองของไตระยะที่ 3 เพิ่มจากร้อยละ 9.09 เป็นร้อยละ 13.68 ระยะที่ 4 ก่อนและหลังเท่ากันร้อยละ50 ระยะที่ 5 ลดลงจากร้อยละ 40.09 เป็นร้อยละ31 ฮีโมโกลบินมากที่สุดอยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 54.54 รองลงมาซีดระดับเล็กน้อยและปานกลางเท่ากัน ร้อยละ22.72 พบว่า หลังพัฒนาโรคไตเรื้อรังไม่อยู่ในอันดับ 1-5 โรคแรก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30