การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงาน ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยชุมชนเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • รัตนาวลี ภักดีสมัย

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, การฝึกสติแบบสั้น, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยชุมชนเป็นฐาน ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  ผู้ร่วมดำเนินการวิจัยประกอบด้วยกลุ่มวัยทำงานที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาก ระยะเวลาในการศึกษา ระหว่าง เดือน มีนาคม 2564 ถึง กันยายน 2565 มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนาระบบบริการ และ 3) ประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

     ผลการวิจัย : 1)  จากการศึกษาสาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะสุขภาพของประชากรวัยทำงานจำนวน 50 คน พบปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ มีรอบเอวเกิน จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อย 76.0 มีระดับน้ำตาลสูงเกินเกณฑ์ จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 62.0 มีความดันโลหิตเกินเกณฑ์ จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 74  ด้านพฤติกรรมพบมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ ได้แก่ การมีกิจกรรมทางกายน้อย จำนวน 29 คน  คิดเป็นร้อยละ  58.0  รองลงมาได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม เกินพอดี จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 40.0   2) กระบวนการพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยชุมชนเป็นฐาน ผู้วิจัยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล จึงได้พัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยชุมชนเป็นฐานและนำการฝึกสติแบบสั้นมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3) ผลของการใช้รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการฝึกสติแบบสั้น เมื่อวัดผลภายหลังดำเนินกิจกรรม 3 เดือน และ 6 เดือน  พบว่ากลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมวิจัย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้นในด้านการลดหวาน มัน ส่วนผลลัพธ์ด้านสุขภาพ พบภายหลังเข้าร่วมวิจัย พบว่า พบผู้รอบเอวเกินจากจำนวน 38 คน มีรอบเอวลดลง 6 คน คิดเป็นร้อยละ 15.78 ควบคุมระดับน้ำตาลได้ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 29.03 ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 29.72

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30