ผลของโปรแกรมให้คำปรึกษาเสริมสร้างแรงจูงใจเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วลัยพร รุ่งเรือง

คำสำคัญ:

โปรแกรมให้คำปรึกษา, เสริมสร้างแรงจูงใจ, ระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research design) ศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ (one group pre-posttest มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมให้คำปรึกษาเสริมสร้างแรงจูงใจเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวานระหว่างเดือน เมษายน 2565- มิถุนายน 2565 จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired  t-test

     ผลการศึกษาพบว่า 1) ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพฤติกรรมการบริโภคก่อนเข้าร่วมโครงการ (gif.latex?\bar{x}=6.43SD=2.10)เพิ่มขึ้น (gif.latex?\bar{x}=14.0 SD=1.21)พฤติกรรมการใช้ยาก่อนเข้าร่วมโครงการ (gif.latex?\bar{x}=5.23SD=1.40) เพิ่มขึ้น (gif.latex?\bar{x}=6.40SD=0.52)พฤติกรรมการออกกำลังกายก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (gif.latex?\bar{x}=2.56SD=2.89) เพิ่มขึ้น  (gif.latex?\bar{x}=5.30 SD=1.50)ส่วนพฤติกรรมการดูแลเท้าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (gif.latex?\bar{x}=8.93SD=2.56) เพิ่มขึ้น (gif.latex?\bar{x}=14.88SD=2.08) 2) ค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือด (FPG) ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (gif.latex?\bar{x}=221.5 SD=39.99) ลดลง (gif.latex?\bar{x}=160.6 SD=53.90) แตกต่างจากก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < .05 และค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม (HbA1C) ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (gif.latex?\bar{x}=8.43SD=0.56) ลดลง (gif.latex?\bar{x}=6.96 SD=0.47) แตกต่างจากก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30