การพัฒนารูปแบบการสร้างทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

ผู้แต่ง

  • มานิตา สิริวิบูลย์ฤทธิ์

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การสร้างทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบ และศึกษาผลลัพธ์ของการปฏิบัติตามรูปแบบการสร้างทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

     วิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) ทีมผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็กจำนวน 8 คน 2) พยาบาลวิชาชีพจำนวน 3 คน 3) หญิงตั้งครรภ์จำนวน 20 คน การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ โดยทบทวนเวชระเบียน สัมภาษณ์ทีมผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก 8 คน และสัมภาษณ์หญิงตั้งครรภ์ที่เคยคลอดก่อนกำหนดจำนวน 4 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการสร้างทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระยะที่ 3 นํารูปแบบไปทดลองใช้ และระยะที่ 4 ประเมินผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นความเป็นไปได้ของรูปแบบ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้รูปแบบ 3) แบบสอบถามทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าทีแบบคู่

     ผลการวิจัย : รูปแบบการสร้างทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ประกอบด้วย การฝึกทักษะ 5 ด้าน 1) ฝึกการเข้าถึง 2) ฝึกการเข้าใจ 3) ฝึกการไต่ถาม 4) ฝึกการตัดสินใจ 5) ฝึกการนำไปใช้ ผลลัพธ์หลังการใช้รูปแบบการสร้างทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่า ความเป็นไปได้ ความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้รูปแบบ อยู่ในระดับดีมาก ทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) พบการคลอดก่อนกำหนดจำนวน 1 ราย (5%)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30