ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
คำสำคัญ:
การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยและพัฒนา (Research and development) เป็นการศึกษาทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประยุกต์ตามแนวคิดทฤษฎีวิจัยและพัฒนาของ ไอโอวาโมเดล (Titler et al., 2001) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล 3) ศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล ในเดือนสิงหาคม 2564 – สิงหาคม 2565 การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 พยาบาลวิชาชีพ จำนวน
30 ราย ศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้แนวทางการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ส่วนที่ 2 ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลหลัก 52 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดย แบบประเมินอาการเจ็บป่วยตาม Edmonton System assessment System (ESAS) โดยเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความทุกข์ทรมานจากอาการก่อนและหลังเข้าร่วมการพัฒนาแนวปฏิบัติการและแบบสอบถามความคิดเห็นก่อนและหลังของทีมผู้ให้บริการต่อแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Ttest แบบประเมินการเสียชีวิตอย่างสงบและสง่างามหรือการตายดีพยาบาล และแบบสอบถามความพึงพอใจในการพยาบาลของผู้ป่วยและ
ผู้ดูแลหลัก วิเคราะห์ข้อมูลโดย ร้อยละ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิทดสอบความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.814, 0.915 0.790 และ0.765 ตามลำดับ
ผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองมีคะแนนเฉลี่ยความทุกข์ทรมานจากอาการภายหลังเข้าร่วมการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม (= 3.44, SD = 1.52) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองของผู้ป่วยและผู้ดูแลหลักโดยรวม อยู่ในระดับมาก (=3.92, SD = 0.30) และกลุ่มตัวอย่างประเมินการเสียชีวิตอย่างสงบและสง่างามหรือการตายดี คิดเป็นร้อยละ 84.44 อยู่ในระดับมากระดับความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อผลของแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองโดยรวมเพิ่มขึ้นจากก่อนการปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05 , t=-39.371)