การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการดูแลระยะกลางอย่างต่อเนื่องที่บ้าน เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอศรีสมเด็จ

ผู้แต่ง

  • ศิริพร เผ่าภูธร

คำสำคัญ:

พัฒนารูปแบบ, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง, การดูแลต่อเนื่องถึงที่บ้าน

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาสถานการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง 2.ศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการดูแลระยะกลาง 3.พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการดูแลระยะกลางและ4.เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่ได้รับการดูแลระยะกลางอย่างต่อเนื่องถึงที่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ในระยะ 6 เดือนแรก จำนวนผู้ป่วย 34 ราย ที่มีคะแนนความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน(ADL) น้อยกว่า15 หรือที่มากกว่าหรือเท่ากับ15 แต่มีความบกพร่องที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ 2 ระบบขึ้นไป ผู้ดูแลหลักในครอบครัวละ1คน 34คน จิตอาสาในชุนชน 34คนและทีม สหสาขาวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยจำนวน30 คนรวม 132 คน ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ถึงเดือนมีนาคม 2564 การพัฒนารูปแบบโดยใช้วงจร PAOR 4ขั้นตอนของ Kemmis & McTaggart เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แนวคำถามการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกระดมความคิดเห็น แบบสอบถามเชิงลึก แบบประเมินทักษะปฏิบัติของผู้ดูแล แบบประเมิน ADL แบบประเมิน ภาวะแทรกซ้อน และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบผลก่อนและหลังใช้รูปแบบด้วยสถิติทดสอบทีคู่

     ผลการศึกษาพบว่า หลังการใช้รูปแบบการดูแล ผู้ดูแลหลักในครอบครัวผู้ป่วยหลอดเลือดสมองระยะกลาง จิตอาสาในชุมชนและสหสาขาวิชาชีพ มีความรู้ความเข้าใจและทักษะที่ถูกต้อง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการดูแลระยะกลางมีคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันสูงกว่าก่อนได้รับการพัฒนา(p<0.05) มีอาการดีขึ้นร้อยละ 91.17 เกิดภาวะแทรกซ้อนแผลกดทับจำนวน 1 รายคิดเป็นร้อยละ 2.94 ได้รับการประเมินและวินิจฉัยว่าเป็นคนพิการเมื่อครบ 6 เดือน จำนวน 2 รายคิดเป็นร้อยละ 5.88 ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้ดูแลหลัก จิตอาสาและทีมสหสาขาวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30