ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ต่อผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง

ผู้แต่ง

  • อดิศร อุดรทักษ์
  • ยุวดี คาดีวี

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะท้ายต่อผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองและการรับรู้การวางแผนล่วงหน้าของชีวิตที่สงบในผู้ป่วยไตวายระยะท้ายกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยไตวายระยะท้าย จำนวน 19 รายและผู้ดูแลจำนวน 19 รายคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กาหนดกลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการดูแลระยะท้ายที่สร้างขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีระยะท้ายของชีวิตที่สงบของรูแลนด์และมอร์เป็นเวลา 1 สัปดาห์วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการทดสอบทีคู่

     ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง คะแนนเฉลี่ยผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองตามการรับรู้ของผู้ป่วยและตามการรับรู้ของญาติผู้ดูแล ลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(t = 26.58, p < .001; t = 33.14, p < .001) คะแนนเฉลี่ยระยะท้ายของชีวิตที่สงบตามการรับรู้ของผู้ป่วย และตามการรับรู้ของญาติผู้ดูแลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ(t = -19.27, p <.001; t = -24.57, p < .001) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการดูแลระยะท้ายช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย มีผลลัพธ์การดูแลที่ดีขึ้นและมีระยะท้ายของชีวิตที่สงบ บุคลากรทางสุขภาพอาจนาโปรแกรมนี้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายในบริบทอื่น ๆ ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30