การพัฒนารูปแบบยาหนุมานประสานกายสำหรับเสริมการรักษาโรคหืด

ผู้แต่ง

  • ปริพัช เงินงาม วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ชัยนรินทร์ เรือนเจริญ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พรพรรณ มณีวรรณ์ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สุวนันท์ แก้วจันทา วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ยาหนุมานประสานกาย, โรคหืด, รูปแบบยา

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนายาหนุมานประสานกายในรูปแบบผงชงละลายสำหรับเสริมการรักษาโรคหืด เป็นการวิจัยแบบทดลอง โดยการนำยาหนุมานประสานกายในรูปแบบยาน้ำทำเป็นรูปแบบผงชงละลายที่มีสัดส่วนมอลโตเดกซ์ตรินต่างกัน ใช้วิธีเปรียบเทียบปริมาณ คุณสมบัติทางกายภาพ และตรวจสอบด้วยเทคนิคโครมาโตรกราฟี ผลการศึกษาพบว่า ยาหนุมานประสานกายรูปแบบผงชงละลายที่สัดส่วนมอลโตเดกซ์ตริน 20%, 40% และ 60% มีค่าแถบสีต่างกัน คือ แถบสีน้ำตาล 3, 2 และ 1 ตามลำดับ ปริมาณผงก่อนชงมีน้ำหนักต่างกันคือ 10.39, 20.09 และ 28.00 กรัม ตามลำดับ ระยะเวลาการชงละลายน้ำมีความแตกต่างกันคือ 4, 7 และ12 วินาที ตามลำดับ และความถ่วงจำเพาะต่างกันคือ 0.008, 0.56 และ 0.60 ในขณะที่สีหลังชงละลาย กลิ่น รสชาติ ความเป็นกรด-เบส (pH) เท่ากัน เมื่อตรวจสอบด้วยเทคนิคโครมาโตรกราฟีพบแถบสาร 2 ชนิด โดยมีค่าการเคลื่อนที่ของสาร (Rf) เท่ากับ 0.50 และ 0.58 เหมือนยาหนุมานประสานกายในรูปแบบยาน้ำ โดยยาผงหนุมานประสานกายที่มีสัดส่วนมอลโตเดกซ์ตรินที่ 20% มีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากปริมาณมอลโตเดกซ์ตรินน้อยที่สุด ชงละลายใช้เวลาเร็วที่สุด และมีความหนาแน่นจากค่าความถ่วงจำเพาะน้อยที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30