ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ สำหรับอาสาสมัครการแพทย์ฉุกเฉินเขตอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • จีรนันท์ วรรณชัย -

คำสำคัญ:

โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะ, การดูแลผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ, อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์

บทคัดย่อ

     ผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุสำหรับอาสาสมัครการแพทย์ฉุกเฉินเขตอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experiment) กลุ่มเดียววัดผลก่อนหลัง (One group pretest posttest design) โดยศึกษาในประชากรอาสาสมัครการแพทย์ฉุกเฉินเขตอำเภอภูเวียงจำนวน 64 ราย 11 หน่วยกู้ชีพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ (KR-20 = 0.8) และแบบการให้คะแนนทักษะการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน (Trauma and Non-Trauma) ณ จุดเกิดเหตุสำหรับอาสาสมัครการแพทย์ฉุกเฉิน ระหว่างเดือน เมษายน – กรกฎาคม 2566 วิเคราะห์ผลวิจัยโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และ Paired-Test ผลการศึกษา พบว่า การเปรียบเทียบทักษะความรู้ภายหลังการอบรม (Mean = 25.11, S.D. = 4.02) อาสาสมัครการแพทย์ฉุกเฉินมากกว่าก่อนการอบรม (Mean = 17.09, S.D. = 4.5) อย่างมีนัยทางสถิติ (p-value < 0.01) และการเปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน (Trauma) ภายหลังการอบรม (Mean = 5.69, S.D. = 1.23) มากกว่าก่อนอบรม (Mean = 4.33, S.D. = 1.54) อย่างมีนัยทางสถิติ (p-value = 0.01) การเปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน (Non - Trauma) ภายหลังการอบรม (Mean = 5.77, S.D. = 1.11) มากกว่าก่อนอบรม (Mean = 4.08, S.D. = 1.54) อย่างมีนัยทางสถิติ (p-value = 0.01) การติดตามประเมินการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน (Non - Trauma and Trauma) จำนวนสามครั้งคือ ครั้งที่หนึ่ง 81.10, 92.97 ครั้งที่สอง 82.42 , 92.75 ครั้งที่สาม 83.08, 82.42 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับทักษะภายหลังการอบรมในห้องอบรม (ทักษะการปฏิบัติหลังอบรมร้อยละ 80.00) มากกว่าร้อยละ 80

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30