ผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดจัดชิ้นกระดูกหักและยึดตรึงภายใน(Open reduction Internal fixation)

ผู้แต่ง

  • ศิรินทร์ พัฒนวิบูลย์ โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

โปรแกรมการให้สุขศึกษา, ความรู้, การปฏิบัติตัว, ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดจัดชิ้นกระดูกหักและยึดตรึงภายใน

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (pre- experiment research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาต่อความรู้ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดจัดชิ้นกระดูกหักและยึดตรึงภายใน(Open Reduction Internal Fixation) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด จัดชิ้นกระดูกหักและยึดตรึงภายใน(Open Reduction Internal Fixation)ที่มารับบริการที่ตึกศัลยกรรม โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ โดยการเลือกแบบกระจาย จำนวน 30คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ paired t-test

     ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดจัดชิ้นกระดูกหัก และยึดตรึงภายใน(Open Reduction Internal Fixation)พบว่าก่อนการให้สุขศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องกระดูกหักระดับต่ำ ร้อยละ76.70 และหลังให้สุขศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 66.70 การปฏิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยที่ผ่าตัดจัดชิ้นกระดูกหัก และยึดตรึงภายใน(Open Reduction Internal Fixation) พบว่าส่วนใหญ่ มีการปฏิบัติตัวในระดับสูงร้อยละ 63.30 และ 73.30 หลังการให้สุขศึกษาของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดจัด ชิ้นกระดูกหัก และยึดตรึงภายใน(Open Reduction Internal Fixation) ผู้ป่วยมีความรู้ และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ความพึงพอใจต่อการให้สุขศึกษาก่อน หลังผ่าตัด จัด ชิ้นกระดูกหัก และยึดตรึงภายใน(Open Reduction Internal Fixation) เพิ่มขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30