การพัฒนาแนวทางการคัดกรองและการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะช็อคในผู้ป่วยติดเชื้อ ในกระแสเลือด โรงพยาบาลยางสีสุราช

ผู้แต่ง

  • พรรณี ยอดญาติไทย โรงพยาบาลยางสีสุราช
  • นิโลบล ทิพย์ฤาตรี
  • อรรถวุฒิ พรมรัตน์
  • กำทร ดานา

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะช็อค, แนวทางการคัดกรองและการพยาบาล

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการพัฒนาแนวทางการคัดกรองและการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะช็อคในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินการระหว่าง ตุลาคม 2563 – เมษายน 2565  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสถิติไคสแควร์ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการสรุปความ

     ผลการศึกษา พบว่าแนวทางการคัดกรองและการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะช็อกในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด คือ 1) การใช้เครื่องมือเพื่อช่วยให้คัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้รวดเร็ว 2) การบริหารอัตรากำลังทีมพยาบาลในหอผู้ป่วยแบบผสานอัตรากำลัง 3) การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 4) การกำหนดให้มีระบบติดตาม กำกับการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยของทีมสหวิชาชีพ หลังดำเนินการตามแนวทาง คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลพบว่า การบันทึกคะแนน SOS Score ในบันทึกทางการพยาบาล (X2=15.43) และการทำกิจกรรมตามคะแนน SOS Score (X2=17.38) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<0.001) พบผู้ป่วยที่มีปัญหาติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 13 ราย ได้รับการวินิจฉัยและเข้าสู่กระบวนการรักษาก่อนเกิดภาวะช็อกเพิ่มขึ้น (X2=2.36) ผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อน Septic shock ลดลง (=1.53) และหลังการใช้แนวทางไม่พบผู้เสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (X2=0.82) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<0.001)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30