การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ของพยาบาลต่อความรู้ในการปฏิบัติตนในผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นอาจาโร

ผู้แต่ง

  • สุมาลินี ชุ่มชื่น -

คำสำคัญ:

รูปแบบการให้ความรู้, การผ่าตัดต้อกระจก, วงจรเดมมิ่ง

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก และเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการให้ความรู้ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นอาจาโร จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเป็นผู้ป่วยต้อกระจกจำนวน 20 คน ที่เข้ารับการรักษาระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ.2565 ในหอผู้ป่วยเด็กตาโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นอาจาโร เครื่องมือที่ใช้ในทดลองคือรูปแบบการให้ความรู้ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก พัฒนาจากแนวคิดวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Cycle) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบประเมินความรู้ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก วิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สถิติเชิงอนุมานที่ใช้เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังให้ความรู้ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกด้วย สถิติ paired sample t- test

     ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการให้ความรู้ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก เป็นคู่มือประกอบด้วยความรู้โรคต้อกระจก การเตรียมตัวผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก สื่อวีดีทัศน์ การเช็ดตา หยอดตา การสอนสาธิตการเช็ดตาหยอดตา แผ่นพับการปฏิบัติตัวผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก กำหนดเวลาการให้ความรู้และจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อให้การให้ความรู้มีประสิทธิภาพ สื่อสารการใช้คู่มือที่พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยี่และสนับสนุนอุปกรณ์การเช็ดตา ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพและผู้ป่วยผ่าตัดต่อการพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบคะแนนการให้ความรู้ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกก่อนและหลังพัฒนารูปแบบฯพบว่าสูงกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบฯ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < 0.001) (ค่า t = 62.56, 95% CI = 11.16 - 11.93)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30