การศึกษาประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ สดใส -
  • บุญนาค แพงชาติ
  • ไกรวิชญ์ เรืองฤาหาร

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, ระบบบำบัดน้ำเสีย, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลในจังหวัดสกลนครจำนวน 15 แห่ง โดยการสำรวจและใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ที่ได้นำไปสู่แนวทางในการดำเนินการบริหารจัดการน้ำเสีย การทดสอบเครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลและการตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการศึกษาในครั้งนี้เท่ากับ 0.87 และ 0.82

     ผลการศึกษาพบว่าขนาดของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสกลนคร 10 เตียงจำนวน 1 แห่ง ขนาด 30 เตียง จำนวน 9 แห่ง ขนาด 60 จำนวน 2 แห่ง ขนาด 90 เตียง จำนวน 2 แห่ง และขนาด 120 เตียง จำนวน 1 แห่ง การบริหารจัดการน้ำเสียขึ้นตรงต่อกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลใช้ระบบบำบัดเสียแบบชีวภาพ (Biological Wastewater Treatment) คือ ระบบบำบัดแบบเอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor) มีจำนวน 10 แห่ง ระบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง (Activated sludge) จำนวน 1 แห่ง และมีระบบที่เปลี่ยนแปลงอีก 4 แห่ง คือ แบบถังเกรอะกรองไร้อากาศร่วมกับสระเติมอากาศ (Septic Anaerobic filter and Aerated pond) อายุการใช้งานของระบบบำบัดน้ำเสียเฉลี่ยมากกว่า 26 ปี และมีบางโรงพยาบาลมีปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นมากกว่าที่ระบบออกแบบไว้  สำหรับการจัดการความเสี่ยงในด้านระบบรวบรวม ระบบสูบน้ำเสีย และการควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสียทางโรงพยาบาลชุมชนยังไม่ชัดเจนการแก้ไขปัญหาใช้รูปแบบการตรวจสอบหน้างานเท่านั้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30