การจัดการภาวะฉุกเฉินโดยใช้กลไกระบบบัญชาการเหตุการณ์ และศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีศึกษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วรวัตต์ ชาญวิรัตน์ -

คำสำคัญ:

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน, มาตรฐานการดำเนินงาน, การถอดบทเรียน, โควิด - 19

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในครั้งนี้ ดำเนินการระหว่างปี 2563 - 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์รูปแบบการจัดการภาวะฉุกเฉินศึกษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้กลไก ICS & EOC ที่เหมาะสม 2) ศึกษา และสังเคราะห์แนวทางมาตรฐานการดำเนินงาน (SOP) ที่จำเป็น ในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินของหน่วยงาน กระบวนการวิจัย แบ่งเป็น 4 ระยะ ตามกรอบแนวคิด PAOR ได้แก่ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติการ 3) การติดตามประเมินผลและสังเกตการณ์ 4) การสะท้อนผลการปฏิบัติ

     ผลการวิจัย พบว่าหน่วยงานมีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข (EOC) รวมเป็นทั้งหมด 10 กลุ่มภารกิจ มีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน เพื่อพัฒนามาตรฐาน และประสิทธิภาพของศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินคือให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในแต่ละภารกิจระดมสมองในการพัฒนาแนวทางมาตรฐานการดำเนินงาน (SOP) ขึ้น โดยมีการจัดทำแนวทางมาตรฐานที่จำเป็นในช่วงแรกทั้งหมด 18 ฉบับ จาก 10 กลุ่มภารกิจ จากการนำแนวทางมาตรฐานการดำเนินงาน (SOP) มาใช้ในการปฏิบัติงาน และมีการจัดกิจกรรมการซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินในรูปแบบ Table top exercise เพื่อติดตาม และประเมินผลที่เกิดจากการนำมาตรฐานการดำเนินงานมาใช้พบว่า บุคลากรผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจ และเกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจของตนเองมากขึ้น ส่งผลให้รูปแบบการดำเนินงานการจัดการภาวะฉุกเฉิน ของหน่วยงานมีความเหมาะสม และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30