การพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงในยุคโควิด-19 โดยผู้จัดการระบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุร่วมกับชุมชนตำบลบัวคำ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • นันท์นลิน บรรจโรจน์ -

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุติดเตียง, กระบวนการพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุติดเตียงยุคโควิด19, ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงในยุคโควิด 19 โดยผู้จัดการระบบดูแลผู้สูงอายุและผู้ดูแลแลผู้สูงอายุร่วมกับชุมชนตำบลบัวคำ มีระยะเวลาดาเนินการ ระหว่างเดือน ตุลาคม 2565 – เมษายน 2566 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียง คัดแบบเฉพาะเจาะจง อาศัยในเขตตำบลบัวคำ ในปีงบประมาณ 2565 จำนวนทั้งสิ้น 19 ราย เครื่องมือที่ใช้นารวิจัย มี 4 ชุด ได้แก่ แบบประเมินดัชนีบาร์เธลเอดีแอล แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะ และแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ชุดย่อภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

     ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงยุคโควิด 19 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 1. ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความเข้าใจ มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงยุคโควิด 19 หลังเข้ารับการอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 2. ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีทักษะ ในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ 0.05 3. ด้านคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุติดเตียง พบว่า ผู้สูงอายุติดเตียงมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต หลังได้รับการดูแลด้านกระบวนการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงยุคโควิด 19 สูงกว่าคะเนนเฉลี่ยก่อนการดูแล ด้วยกระบวนการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงแสดงว่าผู้สูงอายุได้รับการดูแลทีเหมาะสม ตรงความต้องการและมีคุณภาพ จึงทาให้คะแนนคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุติดเตียงยุคโควิด 19 สูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30