รูปแบบการพัฒนาระบบการให้บริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ระบบการให้บริการ, ผู้ป่วยนอกบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการรับบริการและระยะเวลาการรอคอยของการให้บริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์และศึกษารูปแบบการพัฒนาระบบการให้บริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาในการศึกษา ระหว่างเดือน ตุลาคม 2564 – เดือน กันยายน 2565 รวม 12 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้มารับบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือน ตุลาคม 2564 – เดือน กันยายน 2565 เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงโดย การแจกแจงความถี่ ( Frequency Distribution ) ร้อยละ ( Percentage ) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) และ Dependent t - test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis
ผลการศึกษา พบว่า ระยะเวลารับการบริการ ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลยางตลาด ก่อนดำเนินการ ตั้งแต่เริ่มจนถึงการจำหน่ายผู้ป่วยกลับ รวม 90 – 135 นาที หลังดำเนินการมีระยะเวลาการรับบริการ 84 – 89 นาที (เป้าหมายไม่เกิน 90 นาที) ความเข้าใจในกิจกรรมเพื่อลดระยะเวลารอคอยของผู้ให้บริการในหอผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยางตลาด ก่อนดำเนินการ ความเข้าใจในกิจกรรมเพื่อลดระยะเวลารอคอยของผู้ให้บริการในหอผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยางตลาดของบุคลากร อยู่ในระดับปานกลาง หลังดำเนินการ ความเข้าใจในกิจกรรมเพื่อลดระยะเวลารอคอยของผู้ให้บริการในหอผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยางตลาดของบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความพึงพอใจของผู้มารับบริการก่อนและหลังดำเนินการก่อนดำเนินการ โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง หลังดำเนินการ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ความเข้าใจในกิจกรรมเพื่อลดระยะเวลารอคอยของผู้ให้บริการในหอผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยางตลาด และความพึงพอใจของผู้มารับบริการกก่อนและหลังดำเนินการ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานมีค่าคะแนนเฉลี่ย ความเข้าใจในกิจกรรมเพื่อลดระยะเวลารอคอยของผู้ให้บริการในหอผู้ป่วยนอก ของบุคลากร โรงพยาบาลยางตลาด และความพึงพอใจของผู้มารับบริการ มากกว่าก่อนดำเนินการ